ข้าวผัด เป็นเมนูสามัญประจำบ้านและร้านอาหารของไทย แม้จะเป็นเมนูที่กินบ่อย ดูเหมือนจะทำไม่ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้อร่อยได้ง่ายๆ อยากจะผัดออกมาให้ข้าวผัดเรียงเม็ดสวย ข้าวผัดไม่แฉะ ไข่ไม่เละ เหมือนตามร้านอาหาร แถมสูตรข้าวผัดก็มีมากมายหลากหลายให้เลือก ทั้งข้าวผัดกุ้ง ข้าวผัดปู ข้าวผัดหมู ข้าวผัดรถไฟ ข้าวผัดสไตล์ญี่ปุ่น และอีกมากมายหลายสูตร
ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้าวผัดมีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีต้นกำเนิดในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก เช่น จีน อินโดนีเซีย และประเทศไทย จึงมีความหลากหลายมาก ว่าแล้วเราก็มาเรียนรู้เรื่องข้าวผัด วิธีทำข้าวผัดให้อร่อย และมาค้นพบสูตรข้าวผัดน่ากินๆ กันดีกว่า

จุดเริ่มต้นของเมนูข้าวผัด
ประเทศจีน
- ยุคโบราณ: ข้าวผัดมีต้นกำเนิดในประเทศจีนในสมัยโบราณ เชื่อกันว่ามีการทำข้าวผัดมาตั้งแต่ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) และราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)
- การใช้ข้าวเหลือ: ข้าวผัดเป็นวิธีการใช้ข้าวเหลือจากมื้อก่อน ไม่ให้เหลือทิ้ง และนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ ผัก และเครื่องปรุงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเมนูใหม่ที่มีรสชาติอร่อย
ประเทศไทย
- อิทธิพลจากจีน: ข้าวผัดในประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมจีน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการอพยพของคนจีนเข้ามาในประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ
- ข้าวผัดแบบไทย: ข้าวผัดสไตล์ไทยๆ ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาตามความชอบและวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น กลายเป็นเมนูที่มีความหลากหลาย ทั้งข้าวผัดปู ข้าวผัดกุ้ง ข้าวผัดหมู ข้าวผัดซีอิ๊ว และอื่น ๆ
อินโดนีเซีย
- ข้าวผัดอินโดนีเซีย: อินโดนีเซียมีเมนูข้าวผัดที่เรียกว่า "นาซีโกเรง" ซึ่งเป็นเมนูที่นิยมมากในภูมิภาคนี้ มีการใช้เครื่องปรุงรสที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ซีอิ๊วดำหวาน และสมุนไพรต่าง ๆ
ญี่ปุ่น
- ชาฮัง (Chahan): ข้าวผัดญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า "ชาฮัง" (炒飯) ได้รับอิทธิพลมาจากจีน มีการปรับรสชาติให้เข้ากับวัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่น ใช้ข้าวญี่ปุ่นในการทำ ปรุงรสด้วยโชยุและเครื่องปรุงอื่นๆ

เคล็ดลับสำคัญ: ผัดข้าวผัดยังไงให้อร่อย เม็ดสวย ไม่แฉะ
1. ใช้ข้าวหุงสุกค้างคืนหรือข้าวที่เย็นแล้ว
การใช้ข้าวค้างคืนจะทำให้ได้ข้าวอร่อยมากขึ้น สาเหตุมาจาก
- ความชื้นลดลง: ข้าวค้างคืนหรือข้าวเย็นจากตู้เย็นจะมีความชื้นต่ำกว่าข้าวที่หุงใหม่ ข้าวที่มีความชื้นต่ำจะช่วยให้เม็ดข้าวไม่เกาะกันเมื่อผัด ทำให้ข้าวผัดมีเม็ดข้าวที่เรียงตัวสวย
- เนื้อสัมผัสที่ดี: ข้าวค้างคืนจะมีเนื้อสัมผัสที่แข็งและแห้งกว่า ข้าวที่แห้งจะทำให้เมื่อผัดแล้วมีความกรอบนิด ๆ และไม่เละ
- การป้องกันการเกาะกัน: ข้าวที่หุงใหม่จะมีความเหนียวและความชื้นสูง ทำให้เม็ดข้าวเกาะกันเป็นก้อนเมื่อนำไปผัด
- สะดวกในการทำอาหาร: ข้าวค้างคืนเป็นการใช้ข้าวที่เหลือจากมื้อก่อน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาหุงข้าวใหม่ สามารถใช้ข้าวที่มีอยู่แล้วมาทำอาหารได้ทันที
- ควบคุมการปรุงรส: ข้าวค้างคืนสามารถดูดซับรสชาติของเครื่องปรุงและส่วนผสมต่าง ๆ ได้ดี ทำให้รสชาติข้าวผัดเข้มข้นและอร่อยขึ้น
2. การเลือกชนิดของข้าว
ให้เลือกข้าวที่หุงออกมาแล้วค่อนข้าวแข็งไม่แฉะ เช่น ข้าวเสาไห้ เพื่อให้ได้สัมผัสที่ดี หรือใช้ข้าวหอมมะลิก็ได้ ต่ควรเป็นข้าวเก่า หรือข้าวกลาง ไม่ควรใช้ข้าวใหม่ เพราะจะนุ่มแฉะไป
3. เทคนิคในการผัดข้าว
- ผัดข้าวผัดให้ร่วนแบบจีน ข้าวผัดแบบจีนจะใช้กระทะเหล็กที่ผ่านการเผามาแล้วและใช้ไฟแรงๆ ผัด เวลาผัดให้ปรุงเนื้อสัตว์และผักที่สุกยากให้สุกก่อน โดยให้ผัดข้าวและเครื่องปรุงทุกอย่างอย่างรวดเร็วด้วยไฟแรง และใช้วิธีกระดกกระทะ เพื่อให้ข้าวร่วนเรียงเมล็ดและหอมไฟ
- วิธีผัดข้าวผัดง่ายๆ ที่บ้าน ถ้าไม่มีกระทะเหล็กเผาหรือไม่ถนัดเทคนิคกระดกกระทะ ให้ใช้กระทะที่มี ผัดโดยใช้ไฟกลางๆ ใส่กระเทียมและเนื้อสัตว์ผัดให้สุกก่อน แล้วค่อยใส่ข้าวลงไปผัด โดยเร่งไฟแรงขึ้น แล้วผัดเร็วๆ ให้เข้ากัน

4. การใส่ไข่ในข้าวผัด
คำถามที่หลายคนสงสัยอีกอย่างคือ ควรใส่ไข่ลงไปผัดในข้าวผัดตอนไหน ซึ่งการใส่ไข่ลงไปนั้นทำได้หลายแบบ
- ถ้าต้องการให้ไข่เคลือบข้าว ให้ผัดไข่ไปกับข้าว คนพอสุก แล้วค่อยใส่ข้าวไปคลุกกับไข่ ให้ไข่เคลือบข้าวแบบทั่วถึง จะได้ข้าวเคลือบไข่ หอมๆ สีทอง เป็นข้าวผัดแบบจีนหรือญี่ปุ่น
- ถ้าต้องการให้ไข่เป็นชิ้นๆ ให้ผัดข้าวให้เข้ากับเครื่องปรุงก่อน แล้วเบาไฟลง กันข้าวไว้ส่วนนึงของกระทะแล้วตอกไข่ลงไป คนเบาๆ ให้ไข่เป็นชิ้น ไม่ต้องคนมาก แล้วคลุกกับข้าวอีกเล็กน้อย เป้นข้าวผัดแบบไทยๆ เช่นข้าวผัดโบราณ ข้าวผัดหมู
ไอเดียเมนูข้าวผัดหลากหลายสไตล์
ข้าวผัดง่ายๆ




ข้าวผัดประยุกต์




ข้าวผัดต่างประเทศ




นอกจากนี้ยังมีข้าวผัดอีกหลายสูตร ทั้งข้าวผัดปู ข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ ข้าวผัดปลาสลิด ข้าวผัดแหนม ข้าวผัดกุนเชียง ข้าวผัดอเมริกัน และอีกหลาหลายสูตร
ถ้าสนใจสูตร ข้าวผัด อื่นๆ สามารถกดดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
ถ้ายังไม่จุใจกับสูตรอาหารสามารถเข้าไปดูสูตรอาหารเพิ่มเติมได้ที่